หน้าเว็บ

Mascot วช.

                                         ที่มาของภาพ http://www.nrct.go.th

         จากที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ มีการจัดประกวดการออกแบบและตั้งชื้อ Mascot ของงานการนำเสนอผลงานวิจัยแห้งชาติ Thailand Research Expo 2012
ด้วย สำนักงำนคณะกรรมกำรวิจัยแห่งชำติ (วช.) ได้กำหนดกำรจัดงำน “การนาเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ ๒๕๕๕” (Thailand Research Expo 2012) ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นเวทีระดับชำติด้ำนกำรส่งเสริมกำรวิจัย โดยกำรมีส่วนร่วมของเครือข่ำยกำรวิจัยและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในภำคส่วนต่ำงๆ ทั่วประเทศ ซึ่งกำรจัดงานมีองค์กรและหน่วยงานในระบบวิจัย ได้นำผลงานและกิจกรรมเข้าร่วมงาน ในหลากหลายรูปแบบ และมีผู้เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมำกในทุกปี
สำหรับปี ๒๕๕๕ กำหนดจัดงานดังกล่าวขึ้น ในวันที่ ๒๔ -๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๕ ณ ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์ กรุงเทพฯ โดยในปีนี้ วช. กำหนดให้มี “โครงการประกวดออกแบบและตั้งชื่อ Mascot ของงานการนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ ๒๕๕๕ (Thailand Research Expo 2012)” ขึ้น โดยผลงำนที่ได้รับรำงวัลชนะเลิศ จะได้รับถ้วยรำงวัล เงินรำงวัล และเกียรติบัตร จึงขอเชิญชวนผู้สนใจส่งผลงานการออกแบบให้ วช. ภายในวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ดังรำยละเอียดในประกาศตามสิ่ง ที่ส่งมาด้วยแนวคิดและเนื้อหาในการออกแบบ

๑. กำรออกแบบ Mascot ของงาน “การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชำติ ๒๕๕๕” (Thailand Research Expo 2012) จะต้องสื่อให้เห็นถึงการแสดงความคิดสร้างสรรค์ของนักวิจัย ในการสร้างงานวิจัยอย่างมีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ
๒. การออกแบบ Mascot ตามข้อ ๑ ต้องมีรูปแบบที่สร้างความสนใจแก่ผู้พบเห็น โดยมีรูปแบบที่ใช้สีสันสวยงาม มีความน่ารัก มีบุคลิกที่ร่าเริงและแสดงความฉลาดเฉลียว รวมทั้งมีความเป็นมิตร พร้อมกับสะท้อนแนวคิดตามที่กำหนดไปพร้อมกัน
๓. การออกแบบ Mascot ตำมข้อ ๑ และ ๒ จะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือสัญลักษณ์ใดก็ได้ โดยผู้ออกแบบต้องให้ความเห็น และควำมหมำยของ Mascot ที่ออกแบบและนำเสนออย่ำงชัดเจน ไม่น้อยกว่ำ ๓ บรรทัด และไม่เกิน ๕ บรรทัด
กติกำกำรส่งผลงำนที่ออกแบบ
๑. นิสิต นักศึกษำ ทุกสาขาวิชา และผู้สนใจ สำมำรถส่งผลงำนได้ไม่จำกัดจำนวน
๒. ออกแบบและตั้งชื่อ Mascot ที่สื่อถึงแนวคิดและเนื้อหาในกำรออกแบบตามที่ระบุไว้ ๓ ข้อข้ำงต้น
๓. มีองค์ประกอบของการออกแบบในภาพที่สวยงาม จดจำง่าย และไม่ซ้ำกับผลงาน ที่เคยมีกำรเผยแพร่หรือเป็นที่รู้จักมาแล้ว
๔. ออกแบบโดยใช้สีไม่เกิน ๔ สี
๕. กำรออกแบบต้องใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิกในการออกแบบ โดยออกแบบ Action ต่างๆ ของ Mascot ไม่น้อยกว่า ๖ Action ได้แก่ ท่าไหว้ ท่าผำยมือทำงซ้าย ท่ำผายมือทำงขวา ท่าแสดงความเป็นมิตรหรือเชื้อเชิญ ท่าแสดงบุคลิกที่ดูสนุกสนาน หรืออื่นๆ
สาเนา
เกณฑ์กำรคัดเลือก
๑. การออกแบบสอดคล้องกับแนวคิดและเนื้อหาในการออกแบบตามที่กำหนด
๒. มีความเหมาะสมในกำรใช้งานได้จริง
การส่งผลงาน
๑. ส่งผลงานการออกแบบโดยพิมพ์เป็น ๔ สี บนกระดำษขนาด A๔ Actionละ ๑ ภาพ (รวม ๖ Action) และพิมพ์รวมทั้ง ๖ Action ในกระดาษ A๔ อีกหนึ่งแผ่น รวมเป็น ๗ ภาพ โดยใส่ในแฟ้มโชว์งาน ๑ ชุด
๒. ให้ความหมายของ Mascot โดยพิมพ์ส่งมาพร้อมกับผลงานที่ออกแบบตามข้อ ๑ โดยใส่ในแฟ้มโชว์งาน
๓. ส่ง file ข้อมูลตามข้อ ๑ และ ๒ โดยส่งเป็น jpg, ai, psd (ความละเอียดไม่น้อยกว่า ๓๐๐ dpi)
๔. ผลงานตามข้อ ๑, ๒, ๓ ทุกชิ้น ให้ระบุข้อมูลผู้ออกแบบหรือเจ้าของผลงาน ได้แก่
- ชื่อ – นำมสกุล
- สำขาที่ศึกษา และสถาบันที่สังกัด หรือองค์กรที่สังกัด
- ที่อยู่ทางไปรษณีย์
- เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน / ที่บ้าน / มือถือ
- Email Address
๕. ส่งผลงานภายในวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ (ประทับตราไปรษณีย์) หรือนาผลงานมาส่งด้วยตนเองภายในวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ที่
๖. วช. จะคัดเลือกผลงานที่มีความโดดเด่นจำนวนหนึ่ง เพื่อนำไป vote ใน Web site ของ วช. โดยคะแนนจากการ vote จะเป็นส่วนประกอบสำคัญ ในกำรพิจารณาคัดเลือกผลงานที่ได้รับรางวัลจากคณะกรรมการอีกครั้งหนึ่ง ๗. สอบถามรายละเอียดได้ที่ ๐-๒๙๔๐-๕๗๔๔, ๐-๒๕๖๑-๒๔๔๕ ต่อ ๔๕๘ รางวัล - รางวัลชนะเลิศ ๑ รำงวัล เงินรางวัล ๒๐,๐๐๐ บำท (สองหมื่นบาทถ้วน) พร้อมถ้วยรางวัลและ เกียรติบัตร - รางวัลชมเชย ๒ รางวัลๆ ละ ๑๐,๐๐๐ บำท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) พร้อมเกียรติบัตร
เงื่อนไข
- การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
- ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชำติ (วช.)
- ขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขเพื่อนำไปใช้ตามความเหมาะสม
- ผลงำนที่ส่งเข้าประกวดจะต้องไม่เคยผ่ำนการแสดงหรือประกวดที่ใดมำก่อน
- ขอสงวนสิทธิ์ในกำรส่งผลงานคืนในทุกกรณี
  แนวคิดในการออกแบบ และการหาข้อมูล 
แนวความคิดในการออกแบบ Mascot จากหัวข้อของการออกแบบ“การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชำติ ๒๕๕๕” (Thailand Research Expo 2012) จะต้องสื่อให้เห็นถึงการแสดงความคิดสร้ำงสรรค์ของนักวิจัย ในกำรสร้างงานวิจัยอย่างมีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนำประเทศ
         จึกเลือกงานวิจัยที่มีความสำคัญต่อการพัฒนำประเทศ
น้ำมันไบโอดีเซล 
     ไบโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิงเหลวที่ผลิตได้จาก น้ำมันพืชและไขมันสัตว์ เช่น ปาล์ม มะพร้าว ถั่วเหลือง ทานตะวัน เมล็ดเรพ (rape seed ) สบู่ดำ หรือ น้ำมันพืช น้ำมันสัตว์ ที่ผ่านการใช้งานแล้ว นำมาทำปฏิกิริยาทางเคมี transesterification ร่วมกับเมทานอล หรือ เอทานอลจนเกิดเป็นสารเอสเตอร์ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซล เรียกว่า ไบโอดีเซล (B100) ซึ่งเมื่อนำมาผสมกับน้ำมันดีเซลเกรดที่ใช้กันในปัจจุบันในสัดส่วนร้อยละ 5- 10 (B5-B10) จะสามารถนำมาใช้งานในเครื่องยนต์ดีเซลได้เป็นอย่างดี โดยไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ นอกจากนี้ยังได้กลีเซอรอลและกรดไขมัน เป็นผลพลอยได้ ซึ่งปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิดขึ้นสามารถแสดงได้ดังนี้
ประวัติความเป็นมา น้ำมันไบโอดีเซล
เครื่องยนต์ดีเซลสันดาปภายใน ได้ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2440 (ค.ศ. 1897) โดยวิศวกรที่ชื่อว่า รูดอล์ฟ ดีเซล ส่วนการนำน้ำมันจากพืชมาใช้ในเครื่องยนต์ดีเซลเป็นครั้งแรกเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) เมื่อใช้ไประยะหนึ่งก็ต้องหยุดไปเนื่องจากมีการค้นพบวิธีการผลิตน้ำมันดีเซลจากปิโตรเลียมที่มีราคาถูกกว่า จนกระทั่งปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) เกิดวิกฤติราคาน้ำมันขึ้นทำให้พลังงานจากพืชได้รับความสนใจอีกครั้งหนึ่ง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
    ไบโอดีเซล มีจุดเริ่มต้นมาจากประเทศในแถบยุโรป มีการทดลองกระบวนการ Trans-Esterification ในปี พ.ศ.2525 โดยใช้เมล็ดเรฟ ณ สถาบัน Institute of Organic Chemistry, Graz, Austria
    ปัจจุบันในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา มีการผลิตและจำหน่ายอย่างกว้างขวางโดยได้รับการยอมรับจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์และผู้ค้าน้ำมัน โดยผสมไบโอดีเซลในสัดส่วนร้อยละ 2 (B2) ซึ่งบังคับใช้ในมลรัฐมินิโซต้า และร้อยละ 20 (B20) ตามคำแนะนำให้ใช้ได้ตามกฏหมายยานยนต์เชื้อเพลิงทดแทนของสหรัฐอเมริกา
    กว่า 28 ประเทศทั่วโลกมีการศึกษาและพัฒนาการผลิตไบโอดีเซลอย่างต่อเนื่อง และในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศที่ผลิตไบโอดีเซลเป็นอุตสาหกรรมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี สหรัฐอเมริกา และออสเตรีย
    ประเทศสหรัฐอเมริกานิยมใช้น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันใช้แล้ว (Used cooking oil) เป็นวัตถุดิบ
    ประเทศที่พัฒนาแล้ว ใช้น้ำมันปาล์ม น้ำมันลินสีด และไขสัตว์ เป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล
น้ำมันไบโอดีเซล ในประเทศไทย
ไบโอดีเซลในประเทศไทย

    ปี 2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชดำริให้มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ สร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็ก ณ สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จังหวัดกระบี่ เนื่องจากเป็นแหล่งที่มีการปลูกปาล์มน้ำมันเป็นจำนวนมาก ประกอบกับเกิดวิกฤติราคาน้ำมันปาล์มดิบตกต่ำเพราะมีผลผลิตล้นตลาด และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ขนาดเล็กมีกำลังผลิตวันละ 110 ลิตร ณ ศูนย์การศึกษาพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส
    ปี 2543 กองงานส่วนพระองค์ได้ทำวิจัยพัฒนา และทดลองนำน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์หรือปาล์มดีเซล มาทดลองใช้กับรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลของกองงานส่วนพระองค์ ที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
    จากผลความสำเร็จดังกล่าว ในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2544 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ ยื่นจดสิทธิบัตร ณ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์คือ “การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ดีเซล” สิทธิบัตรเลขที่ 10764
    วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2544 วันพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ มีหน่วยงาน 4 หน่วยงาน ได้นำผลงานเกี่ยวกับการวิจัยใช้น้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันในเครื่องยนต์ดีเซลไปจัดนิทรรศการที่สวนจิตรลดา ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และบริษัท ยูนิวานิช จำกัด
    ปี พ.ศ.2544 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้จัดส่งผลงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ไปร่วมแสดงในงานนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์นานาชาติชื่องาน “Brussels Eureka 2001” ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ด้วยพระอัจฉริยะภาพและพระปรีชาสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ส่งผลให้ผลงานการคิดค้น 3 ผลงานของพระองค์ คือ “ทฤษฎีใหม่” “โครงการฝนหลวง” และ “โครงการน้ำมันไบโอดีเซลสูตรสกัดจากน้ำมันปาล์ม” ได้รับเหรียญทอง ประกาศนียบัตรสดุดีเทิดพระเกียรติคุณ พร้อมถ้วยรางวัล ในงานดังกล่าวล้วนเป็นผลงานการคิดค้นแนวใหม่ในการพัฒนาประเทศ นำมาซึ่งความปลาบปลื้มปีติยินดีแก่ประชาชนชาวไทยทั้งมวล
ข้อมูลจาก:snook.com
รูปภาพของต้นสบู่ดำและเมล็ด
                                               ที่มาของภาพ:wikipedia
                                               ที่มาของภาพ:wikipedia
   ที่มาของภาพ:thaienergynews 
ภาพร่างต้นของ Mascot น้องสบู่ดำ
ผลงานการร่างแบบครังที่ 1 เป็นภาพหยดน้ำมันไปโอดีเซล
ที่มาของภาพ:นายอานนท์ ทองรอด
ผลงานการร่างแบบครั้งที่ 2
 ที่มาของภาพ:นายอานนท์ ทองรอด
                                           ที่มาของภาพ:นายอานนท์ ทองรอด
ผลงานที่เสร็จสมบูรณ์








 ความหมายของ Mascot Thailand Research Expo 2012
ชื่อของ Mascot : น้องสบู่ดำ
ความหมายของ Mascot : น้องสบู่ดำ เพื่อเป็นการนำเสนองานวิจัยอย่างมีคุณค่าและประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ
ในด้านของพลังงานทดแทนที่เป็นงานวิจัยอันเนื่องมาจากพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มอบให้แก่ปวงชนชาวไทยได้มีพลังงานที่สะอาด
ละราคาถูก ด้วยพระอัฉริยภาพด้านพลังงานทดแทน จึงนำเอาต้นสบู่ดำมาเป็นมาสคอตในครั้งนี้ ใช้สีเขียวที่เป็นธรรมชาติเพื่อสื่อถึงพลังงานสะอาด และสีขาวที่
อยู่ด้านในตัวของน้องสบู่ดำเป็นรูปหยดน้ำมันที่กลั่นออกมาจากเมล็ดสบู่ดำ มีบุคลิคที่ร่าเริงสดใสเป็นมิตร
 







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...